Sunday, October 23, 2011

แผนที่พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม Flooding Risk analysis

แผนที่พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม Flooding Risk analysis
ในสถานการณ์ที่เกิดภาวะน้ำท่วมรุนแรงในครั้งนี้ เข้าใจว่าหลายท่านคงมีความกังวลในหลายๆ เรื่องครับ เนื่องจากเรายังคงขาดข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการการเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์น้ำที่กำลังจะเข้ากรุงเทพ เช่น บ้านของเราอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงหรือไม่ น้ำจะท่วมบ้านเราหรือของญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านหรือเปล่า และน้ำจะท่วมสูงขนาดไหน หากเรามีข้อมูลเหล่านี้อยู่ก็จะช่วยให้เราเตรียมพร้อมรับมือกับน้ำที่อาจจะเข้ามาได้อย่างมั่นใจนะครับ

ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลระดับพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร และพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมซึ่งเป็นข้อมูลจาก GISTDA ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นตัวที่จะบอกเราได้ว่าพื้นที่ใดมีความเสี่ยงต่อน้ำท่วมมากน้อยเพียงใด และจัดทำเป็นไฟล์ KMZ ซึ่งใช้กับโปรแกรม world เพราะใช้ง่ายไม่ยากนัก สำหรับให้เพื่อสมาชิกใช้ดูเป็นข้อมูลเบื้องต้นว่าบ้านของท่านมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด

ภายในแผนที่จะบอกเราได้ว่า ;
1.) พื้นที่ของท่านมีความสูงจากระดับน้ำทะเลเท่าไร เพราะหากพื้นที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่มากนัก (สีน้ำเงิน) ก็มีโอกาสสูงที่จะโดนน้ำท่วมหนักกว่าพื้นที่อื่นๆ
2.) แนวคันกั้นน้ำของกรุงเทพมหานคร
3.) แม่น้ำ ลำคลองสายต่างๆ
4.) ถนน ทางด่วนสายต่างๆ สถานที่สำคัญ พร้อมระบุชื่อ
5.) ภาพดาวเทียมที่จะทำให้เราเห็นสภาพพื้นที่โดยละเอียด
ุ6.) อื่นๆ

โดยท่านสามารถดาวโหลดได้ "ฟรี" ไม่มีค่าใช้จ่าย ที่
http://www.withailand.org/floodingrisk.zip

ภายใน Folder จะประกอบด้วย
1.) โปรแกรม world 6 (googleupdatesetup.exe)
2.) ไฟล์ฐานข้อมูลระดับพื้นที่และพื้นที่น้ำท่วม (Flooding Risk.kmz)
3.) คำอธิบาแผนที่ ( flood_01.jpg)
4.) คำแนะนำในการติดตั้งและการใช้ง่าน (อ่านก่อนนะครับ.pdf)

หมายเหตุ : ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านมีโปรแกรม world เดิมอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องติดตั้งใหม่นะครับ แต่เวอร์ 6 มีข้อดีขึ้นมาหน่อยคือเป็นภาษาไทย

ย้ำอีกครั้งนะครับ...ว่าแผนที่นี้เป็นข้อมูลเบื้องต้น จำเป็นที่จะต้องดูข้อมูลอื่นๆ ประกอบด้วย การที่ตำแหน่งบ้านของคุณอยู่ในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ดูในแผนที่อาจจะปลอดภัย แต่ในสถานการณ์จริงอาจโดนน้ำท่วมก็ได้นะครับ เช่น แม้คุณจะอยู่สูงแต่เนื่องจากโดนถนนล้อมรอบ หรือโดนคันกั้นน้ำปิดล้มก็อาจท่วมได้นะครับ แต่โดยหลักการเลยก็คือ กระแสน้ำย่อมไหลจากที่สูงลงที่ต่ำครับ

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ pratheep180@gmail.com
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.296981900330713.87920.100000567171234&type=3